Computational Thinking

การแยกส่วนประกอบและการย่อยปัญหา
การแยกส่วนประกอบเป็นวิธีคิดรูปแบบหนึ่งของแนวคิดเชิงคำนวณ เป็นการพิจารณาเพื่อแบ่งปัญหาหรืองานออกเป็นส่วนย่อย ทำให้สามารถจัดการกับปัญหาหรืองานได้ง่ายขึ้น
การแบ่งส่วนประกอบของวัตถุนั้น สามารถพิจารณาให้ละเอียดย่อยลงไปอีกได้อีกหลายระดับ แต่ไม่ควรแยกย่อยรายละเอียดให้มากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทที่ต้องการและสนใจ
การแยกส่วนประกอบอาจเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนานวัตกรรม เนื่องจากทำให้เห็นหน้าที่การทำงานของแต่ละส่วนประกอบย่อยอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาส่วนประกอบย่อยต่างๆ ในแบบที่เป็นอิสระต่อกันแล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทอื่นๆได้
การแยกส่วนประกอบนั้น ไม่ได้ทำเฉพาะกับวัตถุหรือสิ่งของเท่านั้น แต่ยังสามารถทำได้กับกระบวนการและขั้นตอนวิธีด้วย เช่น การเดินทางมาโรงเรียน อาจเดินทางด้วยการเดินเท้า การเดินทางด้วยรถจักรยาน หรือการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์
ตัวอย่างการแยกส่วนประกอบเชิงวัตถุ

ตัวอย่างการแยกส่วนประกอบ.ในเชิงการเรียนรู้

ตัวอย่างการแยกส่วนประกอบและการย่อยปัญหา

ก า ร ห า รู ป แ บ บ
การหารูปแบบ เป็นทักษะการหาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง แนวโน้ม และลักษณะทั่วไปของสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปแล้วควรจะเริ่มพิจารณาปัญหาหรือสิ่งที่สนใจ จากนั้นอาจใช้ทักษะการแยกส่วนประกอบทำให้ได้องค์ประกอบภายในอื่นๆ แล้วจึงใช้ทักษะการหารูปแบบเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น















การหารูปแบบทั่วไป
จัดความสัมพันธ์ตามการดำเนินชีวิต การอยู่อาศัย

สัตว์บก =


สัตว์น้ำ =


สัตว์ปีก =







สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ =




จัดความสัมพันธ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม






การหารูปแบบอีกประเภทหนึ่ง เป็นการหารูปแบบที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างสิ่งของต่างๆ ที่สนใจหลายชิ้น การพิจารณารูปแบบนี้จะช่วยระบุองค์ประกอบสำคัญร่วมกันของสิ่งของเหล่านั้นได้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้าใจเชิงนามธรรม เช่น เมาส์ จะเห็นว่าเมาส์นั้นมีรูปลักษณ์ภายนอกที่แตกต่างกันออกไป แต่สังเกตได้ว่ารูปแบบการใช้งานนั้นเหมือนกัน คือ สามารถบังคับตำแหน่งตัวชี้ได้โดยการขยับเมาส์ และใช้กดหรือสัมผัสบนปุ่มเมาส์เพื่อกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามที่โปรแกรมไว้
ตัวอย่างวิธีการแก้ปัญหาโดยการหารูปแบบ

สถานการณ์ปัญหา
โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียนชั้น ม.4 จำนวน 100 คน ครูได้นำสมุดการบ้านของนักเรียนมาตรวจ และต้องการส่งสมุดการบ้านคืนนักเรียน โดยให้นักเรียนมาหยิบสมุดการบ้านของตนเอง ดังนั ้นนักเรียนจึงต้องค้นหาสมุดการบ้านของตนเองจากกองสมุดการบ้านทั้งหมด
การหารูปแบบเพื่อแก้ปัญหา
อาจเริ่มจากการพิจารณาสมุดการบ้านเล่มที่อยู่บนสุด ถ้าพบว่าเป็นสมุดการบ้านของตนเอง ก็สามารถหยิบไปได้เลย แล้วจบกระบวนการค้นหา
แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องค้นหาในกองสมุดการบ้านที่เหลือต่อไปอีก 99 เล่ม และถ้ายังค้นหาสมุดการบ้านของตนเองไม่พบ ก็ต้องค้นหาในกองสมุดการบ้านที่เหลือต่อไปอีก 98 เล่ม ไปเรื่อย ๆ
เริ่มต้น
เล่มแรกเป็นของเรา
ไม่ใช่
ค้นหาเล่มต่อไป
ใช่
ไม่ใช่
ใช่ สมุดของตนเอง
ใช่
จบการทำงาน
ชุดกิจกรรมที่4
ใบกิจกรรมที่ 2
ให้นักเรียนดูคลิปวิดีโอเรื่อง "สับปะรด" แล้ววิเคราะห์ แยกย่อยปัญหา ที่พบในภาพยนต์หนังสั้นดังกล่าวว่าแต่ละปัญหา มีสาเหตุ ขั้นตอนการแก้ปัญหา และผลที่เกิดขึ้น ในรูปแผนผังความคิด (Mind Mapping)
วิดีโอจาก : “สับปะรด” (Pineapple) หนังสั้นสร้างแรงบันดาลใจ โครงการสานรัก
ใบกิจกรรมที่ 3









พิจารณาสิ่งของต่อไปนี้ แล้วระบุรูปแบบที่เหมือนหรือแตกต่างกัน